GNSS – Global Navigation Satellite System
source: https://insidegnss-com.exactdn.com/wp-content/uploads/2018/01/julyaug16-ECHODA-500px.jpg
ระบบดาวเทียมบอกพิกัด GNSS (Global Navigation Satellite System) ที่เรารู้จักกันดีคือ GPS ของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดีปัจจุบัน ได้มีระบบดาวเทียมของประเทศใหญ่ๆเพิ่มขึ้นอีกหลายระบบ ได้แก้
- GPS ของสหรัฐอเมริกา (ระบบแรกของโลก)
- GLONASS ของรัสเซีย
- BeiDou ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
- Galileo ของสหภาพยุโรป
- QZSS ของญี่ปุ่น
- NavIC ชื่อเดิม IRNSS ของอินเดีย ซึ่งเป็นระบบล่าสุด
GPS ย่อมาจาก Global Positioning System ชื่อเดิมคือ Navstar เป็นระบบดาวเทียมของประเทศสหรัฐอเมริกา
ข้อมูล ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2564
จำนวนดาวเทียมทั้งหมดที่ถูกส่ง 77 ดวง ที่ใช้งานได้อยู่ 30 ดวง สำรอง 3 ดวง ระหว่างการทดสอบ 1 ดวง ปลดระวาง 41 ที่เหลืออีกดวง 2 ดวง ส่งไม่สำเร็จ เครื่องรับสัญญาณดาวเทียมจะต้องรับดาวเทียมอย่างน้อย 4 ดวงเพื่อให้ได้พิกัดแบบ 3 มิติ
พื้นที่การให้บริการคือทั่วโลก
GLONASS เป็นระบบดาวเทียมของประเทศรัสเซีย
ข้อมูล ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2562
จำนวนดาวเทียมทั้งหมด 30 ดวง ทำงานอยู่ 26 ดวง ซ่อมอยู่ 1 ดวง สำรอง 1 ดวง ทดสอบอยู่ 1 ดวง ที่เหลืออีก 1 ดวงอยู่ในแผน
วิธีการส่งสัญญาณเป็นแบบ FDMA และแบบ CDMA
พื้นที่การให้บริการคือทั่วโลก
BeiDou เป็นระบบดาวเทียมของสาธารณรัฐประชาชนจีนบางครั้งเรียกชื่อย่อว่า BDS
ข้อมูล ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2563
จำนวนดาวเทียมทั้งหมด 59 ดวง ทำงานอยู่ 42 ดวง ที่เหลือคือปลดระวางแล้ว
พื้นที่การให้บริการคือทั่วโลก
GALILEO เป็นระบบดาวเทียมของสหภายุโรป
ข้อมูล ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2564
จำนวนดาวเทียมทั้งหมด 30 ดวง ทำงานอยู่ 24 ดวง สำรอง 6 ดวง โครจรอยู่ที่ระดับความสูง 23,222 km (MEO)
พื้นที่การให้บริการคือทั่วโลก
QZSS ย่อมาจาก Quasi-Zenith Satellite System เป็นระบบดาวเทียมของประเทศญี่ปุ่น
เป็นระบบดาวเทียมเฉพาะถิ่นใช้ในพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่นและประเทศข้างเคียง เช่นในประเทศไทยและมหาสมุทรแปซิฟิก
จำนวนดาวเทียมทั้งหมด 7 ดวง ทำงานอยู่ 5 ดวง ในแผน 2 ดวง โครจรอยู่ที่ระดับความสูง 42,164 km
NavIC ย่อมาจาก Navigation with Indian Constellation ชื่อเดิมคือ IRNSS เป็นระบบดาวเทียมของประเทศอินเดีย
จำนวนดาวเทียมทั้งหมด 7 ดวง ทำงานอยู่ 5 ดวง 3 ดวงเป็นโครจรแบบ GEO 4 ดวงเป็นโครจนแบบ GSO
พื้นที่การให้บริการคือประเทศอินเดีย บริเวณมหาสมุทรอินเดีย