skip to Main Content
บริษัท แนคคร่า ไมโครเทค จำกัด 086-784-1156
Correction

ค่าปรับแก้ (Correction) คืออะไร

Source : http://www.wirelessdictionary.com/Wireless-Dictionary-GPS-Errors-Definition.html


เนื่องจากธรรมชาติของสัญญาณจากดาวเทียมซึ่งเป็นสัญญาณวิทยุความถี่สูง เมื่อเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศต่างๆจากดาวเทียมในอวกาศมายังเครื่องรับที่ภาคพื้นดิน จะเกิดการหน่วงจากชั้นบรรยากาศชั้นต่างๆ ทำให้สัญญามาถึงช้ากว่าที่ควรจะเป็น ทำให้พิกัดแม่นยำลดลงไปอย่างมาก

Error Sources

Source : http://www.wirelessdictionary.com/Wireless-Dictionary-GPS-Errors-Definition.html

จากภาพจะเห็นถึงแหล่งที่มาของความผิดพลาด (Error Source) ได้แก่

  • Satellite Orbit คือวงครจรของดาวเทียมที่อาจผิดจากวงโครจรที่ควรจะเป็นไปเล็กน้อย แต่ทำให้พิกัดเพี้ยนไปถึง 2 เมตร
  • Satellite Clock คือสัญญาณนาฬิกาในดาวเทียมเองซึ่งเดินไม่ตรงกับเครื่องรับบนภาคพื้นดิน แต่ส่งผลให้พิกัดเพี้ยนไปถึง 2 เมตร
  • Ionosphere Error ในชั้นบรรยากาศชั้น Ionosphere ทำให้สัญญานหน่วงส่งผลให้พิกัดเพี้ยนไปถึง 4 เมตร
  • Troposphere Error ในชั้นบรรยากาศชั้น Troposphere ทำให้สัญญานหน่วงส่งผลให้พิกัดเพี้ยนไปถึง 0.7 เมตร
  • Multipath คือผลจากการสะท้อนของสัญญาณดาวเทียมกับอาคารและต้นไม้ส่งผลให้พิกัดเพี้ยนไปถึง 1.4 เมตร
  • Receiver Circuit เนื่องจากวงจรสัญญาณนาฬิการบนเครื่องรับมีราคาถูกและคุณภาพต่ำ ทำให้เวลาเดินเร็วหรือช้ากว่านาฬิกาบนดาวเทียม ส่งผลให้พิกัดเพี้ยนไปถึง 0.5 เมตร
Send Correction

Source : CSIS – Center for Spatial Information Science University of Tokyo

ค่าปรับแก้ (Correction) ได้มาจากเครื่องรับดาวเทียมอีกชุดหนึ่ง (Base) ที่หน้าที่หลักไม่ใช้คำนวณค่าพิกัด แต่กลับกันเครื่องรับชุดนี้จะปล่อยค่าสัญญาณดาวเทียมและค่า Error ต่างจากชั้นบรรยากาศ มาให้กับเครื่องรับสัญญาณ Rover เพื่อทำการหักล้างกับ Error ในตัวเครื่องรับ Rover เองผลที่ได้จะได้ค่าพิกัดที่ถูกต้องกับความเป็นจริงมากที่สุด  เงื่อนไขคือเครื่องรับ Base และ Rover ต้องอยู่ในฟ้าเดียวกัน เห็นดาวเทียมเหมือนกัน บรรยากาศเดียวกัน และ ระยะห่างระหว่าง Base และ Rover (Base Line) ต้องไม่ไกลเกินกว่า 70  กิโลเมตร (เครื่องรับแบบสองความถี่)

Back To Top